สืบค้น


วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

โครงการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา


                                      โครงการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
1.       ชื่อโครงการ  โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
2.       ผู้รับผิดชอบโครงการ  นางสาวนิตยา    อรรคชัย  นิสิตจิตวิทยา ปี 3
3.       ที่ปรึกษาโครงการ รศ.ดร.ไชยยศ   เรืองสุวรรณ 
4.      หลักการและเหตุผล
ในโลกยุคใหม่ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในโลกของการบันเทิง ข่าวสาร และการศึกษาได้อย่างมาก คือเรื่องของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นโปรแกรมโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดด้วยระบบดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร ฝ่ายผู้รับจะใช้ระบบจานรับสัญญาณ ซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นจานสะท้อนสัญญาณโลหะ ซึ่งเราเรียกกันว่า จานรับดาวเทียมนอกจากนี้สัญญาณจากจานรับ จะส่งต่อไปยังกล่องรับสัญญาณ หรือเรียกว่า ตัวปรับสัญญาณหรือ ซึ่งต่อสัญญาณไปยังตัวเครื่องรับโทรทัศน์ กล่องรับสัญญาณ อาจมีการ์ดกำหนดสิทธิผู้รับสัญญาณ ในกรณีของการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับ หรือ สายต่อแบบ USB เชื่อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ในหลายที่ในโลก โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสามารถให้บริการได้อย่างกว้างขวางหลายช่องสัญญาณ นับเป็นร้อยๆช่องและลักษณะบริการ มีทั้งแบบบอกรับ และแบบไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน แต่มีรายได้จากโฆษณา หรือการรับบริจาค ส่วนการให้บริการแบบบอกรับนั้น ก็จะมีผู้ให้บริการภาคพื้นดิน หรือผู้ให้บริการผ่านระบบเคเบิลทีวีเป็นผู้ดำเนินการให้บริการ ดังในประเทศไทย บริษัทTRUE Vision เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีทั้งสองแบบ คือแบบเก่า เป็นระบบอนาลอก ที่ใช้กับโทรทัศน์ตั้งแต่ยุคแรกๆ และระบบใหม่ คือเป็นดิจิตอล เป็นระบบแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ ระบบอนาลอกกำลังถูกทดแทนด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่คมชัด ใช้ได้ทั้งระบบจอโทรทัศน์และผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถให้รายละเอียดภาพได้สูง
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น โทรทัศน์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มีการพัฒนามาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาเป็นอย่างแพร่หลาย ในที่นี้จะกล่าวถึงโครงการการใช้สื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาโทรทัศน์เพื่อการศึกษา  เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษา หรืออาจกล่าวได้ว่า โทรทัศน์การศึกษาเป็นผลการนำรูปแบบและเทคนิคของสื่อโทรทัศน์มาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อธุรกิจทางการศึกษาเป็นลักษณะหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาโดยรายการเหล่านี้จะมีเนื้อหาอย่างกว้างๆ เพื่อส่งเสริมข้อมูลทางการศึกษาโดยเฉพาะการเรียนการสอนโทรทัศน์เพื่อการศึกษานี้มีความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลชุมชนในเมืองซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการศึกษาที่คลอบคลุมและทั่วถึงทุกท้องถิ่น หรือเป็นบุคคลที่ล้าสมัย โทรทัศน์เพื่อการศึกษานี้อาจจะเป็นรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมด้านความรู้ รายการโทรทัศน์จะมีตามความเหมาะสมของแต่ละระดับเพศ อายุ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาจะสามารถศึกษาได้ 2 ลักษณะ คือ การศึกษาในระบบโรงเรียน จะเป็นการศึกษาตามหลักสูตรในระบบการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจะช่วยในเรื่องของการขาดแคลนครูผู้สอน และช่วยเหลือในด้านของเนื้อหาของรายวิชาที่ยากและอีกลักษณะหนึ่งคือการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาเพื่อหาข่าวสารข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลทั่วไป โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี คือ สามารถใช้ในสภาพที่ผู้เรียนมีจำนวนมากและผู้สอนมีจำนวนจำกัด  เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้  เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์และสามารถสาธิตได้อย่างชัดเจน  ข้อเสีย คือ โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้ อาจเกิดอุปสรรคทางด้านการสื่อสาร เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนไม่เอื้ออำนวยและจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ผลิตรายการที่มีคุณภาพได้
การที่เราได้จัดโครงการเรื่องนี้เพราะต้องการศึกษาถึงแก่นแท้ของความสำคัญและประโยชน์ของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและบุคคลรอบข้างให้มากที่สุด และเพื่อที่จะได้ทราบถึงพื้นที่หรือบุคคลไหนบ้างที่ได้ที่ได้รับประโยชน์จากการศึกษาที่ผ่านโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษานี้และได้ประโยชน์มมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้ทราบถึงประโยชน์ดังกล่าวก็จะได้ทำการศึกษาต่อไป
5. วัตถุประสงค์
1. ต้องการศึกษาความหมายและความเป็นมาของโทรทัศน์เพื่อผ่านดาวเทียมการศึกษา
2.เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
3. เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการและศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
4. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ให้การศึกษามีคุณภาพและกระจายความรู้อย่างทั่วถึง
5. เพื่อให้ตนเองได้ทราบถึงพื้นที่ไหนบ้างที่ต้องการการศึกษาผ่านโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา

6. กลุ่มเป้าหมาย
1.       เพื่อให้เกิดความเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องที่ศึกษาแก่ตนเองให้มากขึ้น
2.       เพื่อสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.       เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของแต่ละหน่วยงาน
7.      วิธีการดำเนินงาน
1.       ศึกษาความหมาย ความเป็นมาและข้อมูลต่างๆของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
2.       ศึกษาแนวคิดของการนำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาไปใช้ประโยชน์
3.       ศึกษาหลักการและทฤษฏีที่สามารถนำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไปใช้เพื่อการศึกษา
4.       สอบถามถึงความคิดเห็นของบุคคลที่ใช้ประโยชน์จากโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาจากแบบสอบถาม
8.      ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน
1.       ศึกษาความหมายความเป็นมา และข้อมูลต่างๆของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา 
ระยะเวลาในการศึกษา เริ่ม วันที่ 15 มกราคม 2556 – วันที่ 18 มกราคม 2556
สถานที่ดำเนินงาน จากอินเตอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2.       ศึกษาแนวคิดของการนำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาไปใช้ประโยชน์
ระยะเวลาในการดำเนินงาน เริ่ม วันที่ 20 มกราคม 2556 – วันที่ 25 มกราคม 2556
สถานที่ดำเนินงาน จากอินเตอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3.       ศึกษาหลักการและทฤษฎีที่สามารถนำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไปใช้ในการศึกษาได้
ระยะเวลาในการดำเนินงาน เริ่ม วันที่  26 มกราคม 2556 – วันที่ 31 มกราคม 2556
สถานที่ดำเนินงาน จากอินเตอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4.       สอบถามถึงความคิดเห็นของบุคคลที่ใช้ประโยชน์จากโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาจากแบบสอบถาม
ระยะเวลาในการดำเนินงาน เริ่ม วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 – วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556
สถานที่ดำเนินงาน บุคคลทั่วไปที่ดูโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาผ่านรายการต่างๆ ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป ด้วยการสุ่ม


9.      ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       ผู้ศึกษาจะได้รับความรู้และข้อมูลต่างๆของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาได้อย่างมาก
2.       ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาต่อไป ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
3.       ผู้ศึกษารับรู้ถึงแนวคิด หลักการและทฤษฎีต่างๆของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
4.       ผู้ศึกษารับรู้ถึงผลดีและผลเสียของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาที่มีต่อตนเองและบุคคลในสังคม
10.  การประเมินผลโครงการ
จะใช้แบบสอบถามในการประเมินข้อมูลทุกกลุ่มคน ทุกระดับชั้น โดยการสุ่ม เกี่ยวกับการศึกษาด้วยโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา ซึ่งการประเมินนี้จะมีการประเมินก่อนการทำโครงการ ประเมินในขณะดำเนินโครงการ และประเมินหลังการทำโครงการ แล้วนำผลประเมินมาสรุปผลในเชิงคุณภาพ

วิเคราะห์แบบสำรวจข้อมูลโครงการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา


วิเคราะห์แบบสำรวจของครู จำนวน 10 คน
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.เพศ
          ชาย มีจำนวน 3 คน คิดเป็น 30%
          หญิง มีจำนวน 7 คน คิดเป็น 70%
2.อายุ
          อายุ 31-35 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็น 30%
          อายุ 36-40 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็น 30%
          อายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 4 คน คิดเป็น 40%
3.ลักษณะของแหล่งศึกษา
          การศึกษาในระบบโรงเรียน คิดเป็น 100%
4.ระดับการศึกษา
          ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 8 คน คิดเป็น 80%
          ปริญญาโท จำนวน 2 คน คิดเป็น 20%
5.ประสบการณ์ในการใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
          น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี จำนวน 0%
          2-3 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็น 20%
          มากกว่า 4 ปี ขึ้นไป จำนวน 8 คน คิดเป็น 80%

ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.ท่านเคยใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาหรือไม่
          เคยใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา จำนวน 10 คน คิดเป็น 100%
2.ลักษณะในการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
          ดูรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร จำนวน 6 คน คิดเป็น 60%
          ดูรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย  จำนวน 4 คน คิดเป็น 40%
3.วัตถุประสงค์หลักในการใช้งาน
          ใช้เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการศึกษา จำนวน 5 คน คิดเป็น 50%
          ใช้เพื่อให้ได้ความรู้ที่ต่างจากเนื้อหาในหนังสือ จำนวน 3 คน คิดเป็น 30%
          ใช้เพื่อศึกษาข้อมูลข่าวสาร เพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่น จำนวน 2 คน คิดเป็น 20%
4.ระยะเวลาในการใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาโดยรวมในแต่ละวัน
          สรุปอาจารย์ใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาโดยรวม 100%

ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
1.ด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
1.1 โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีข้อมูลที่หลากหลาย ชัดเจน เข้าใจง่าย และถูกต้อง
คะแนนเท่ากับ   5          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 80%
คะแนนเท่ากับ   4          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 40%    
คะแนนเท่ากับ   3                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   2                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
1.2 โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีข้อมูลที่เหมาะสมต่อผู้ใช้
คะแนนเท่ากับ   5          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 70%
คะแนนเท่ากับ   4          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 30%    
คะแนนเท่ากับ   3                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   2                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
   1.3 โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้
คะแนนเท่ากับ   5          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 80%
คะแนนเท่ากับ   4          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 20%    
คะแนนเท่ากับ   3                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   2                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
2.ด้านการนำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไปใช้
  2.1 มีความสะดวกสบายในการใช้
  คะแนนเท่ากับ   5                  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 50%
คะแนนเท่ากับ   4                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 50%    
คะแนนเท่ากับ   3                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   2                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
2.2 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้จริง
คะแนนเท่ากับ   5                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 50%
คะแนนเท่ากับ   4                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 50%    
คะแนนเท่ากับ   3                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   2                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
2.3 นำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คะแนนเท่ากับ   5                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 70%
คะแนนเท่ากับ   4                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 30%    
คะแนนเท่ากับ   3                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   2                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%

ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมาใช้เพื่อการศึกษา
ถือเป็นการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาไปในทางที่ดี เหมาะสมกับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง และน่าส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาต่อไป

วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้
          จากที่ได้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาในสถานศึกษาขนาดกลางโดยเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนทั้งหมด ได้สำรวจกับบุคลากรและคุณครูภายในโรงเรียนจำนวน 10 คน ผลสรุปว่าบุคลากรและคุณครูทุกคนรู้จักและเคยใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา 100% โดยส่วนมากจะใช้มานานกว่า 4 ปี คิดเป็น 80% จากคนทั้งหมดลักษณะการใช้งานส่วนใหญ่จะใช้งานในทางด้านการดูรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร คิดเป็น 60% ลำดับต่อมาคือการใช้งานโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย คิดเป็น 30% และลำดับสุดท้ายคือการใช้งานโดยการศึกษาผ่านรายการข่าวสารเพื่อการศึกษา คิดเป็น 10% จากลักษณะการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษามีวัตถุประสงค์โดยรวมคือเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางการศึกษา โดยเวลาในการใช้งานในแต่ละวันจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง และสุดท้ายคือบุคลากรและคุณครูมีความพึงพอใจในการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาในระดับสูง






วิเคราะห์แบบสำรวจของนักเรียน จำนวน 30 คน
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.เพศ
          ชาย มีจำนวน 18 คน คิดเป็น 60%
          หญิง มีจำนวน 12 คน คิดเป็น 40%
2.อายุ
          อายุ 13-15 ปี จำนวน 16 คน คิดเป็น 53.33%
          อายุ 16-20 ปี จำนวน 14 คน คิดเป็น 46.66%

3.ลักษณะของแหล่งศึกษา
          การศึกษาในระบบโรงเรียน คิดเป็น 100%
4.ระดับการศึกษา
          มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 16 คน คิดเป็น 53.33%
          มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 14 คน คิดเป็น 46.66%
5.ประสบการณ์ในการใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
          น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็น 16.66%
          2-3 ปี จำนวน 12 คน คิดเป็น 40%
          มากกว่า 4 ปี ขึ้นไป จำนวน 13 คน คิดเป็น 43.33%

ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.ท่านเคยใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาหรือไม่
          เคยใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา จำนวน 30 คน คิดเป็น 100%
2.ลักษณะในการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
          ดูรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร จำนวน 3 คน คิดเป็น 10%
          ดูรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย  จำนวน 17 คน คิดเป็น 56.66%
          ดูรายการข่าวสารเพื่อการศึกษา จำนวน 10 คน คิดเป็น 33.33%
3.วัตถุประสงค์หลักในการใช้งาน
          ใช้เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการศึกษา จำนวน 4 คน คิดเป็น 13.33%
          ใช้เพื่อให้ได้ความรู้ที่ต่างจากเนื้อหาในหนังสือ จำนวน 10 คน คิดเป็น 33.33%
          ใช้เพื่อศึกษาข้อมูลข่าวสาร เพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่น จำนวน 14 คน คิดเป็น 46.66%
          ใช้เพื่อทดแทนครูผู้สอน จำนวน 2 คน คิดเป็น 16.66%

4.ระยะเวลาในการใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาโดยรวมในแต่ละวัน
          น้อยกว่า 1 ชั่วโมง จำนวน 4 คน คิดเป็น 13.33%
          1-3 ชั่วโมง จำนวน 21 คน คิดเป็น 70%
          4-5 ชั่วโมง จำนวน 5 คน คิดเป็น 16.66%

ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
1.ด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
1.1 โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีข้อมูลที่หลากหลาย ชัดเจน เข้าใจง่าย และถูกต้อง
คะแนนเท่ากับ   5          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 53.33%
คะแนนเท่ากับ   4          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 40%    
คะแนนเท่ากับ   3                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 6.66%
คะแนนเท่ากับ   2                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
1.2 โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีข้อมูลที่เหมาะสมต่อผู้ใช้
คะแนนเท่ากับ   5          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 46.66%
คะแนนเท่ากับ   4          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 43.33%
คะแนนเท่ากับ   3                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 10%
คะแนนเท่ากับ   2                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
   1.3 โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้
คะแนนเท่ากับ   5          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 56.66%
คะแนนเท่ากับ   4          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 40%    
คะแนนเท่ากับ   3                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 3.33%
คะแนนเท่ากับ   2                    มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1          มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
2.ด้านการนำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไปใช้
  2.1 มีความสะดวกสบายในการใช้
  คะแนนเท่ากับ   5                  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 23.33%
คะแนนเท่ากับ   4                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 60%    
คะแนนเท่ากับ   3                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 6.66%
คะแนนเท่ากับ   2                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 6.66%
คะแนนเท่ากับ   1                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
2.2 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้จริง
คะแนนเท่ากับ   5                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 53.33%
คะแนนเท่ากับ   4                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 36.66%
คะแนนเท่ากับ   3                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 10%
คะแนนเท่ากับ   2                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%
2.3 นำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คะแนนเท่ากับ   5                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด        คิดเป็น 56.66%
คะแนนเท่ากับ   4                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก    คิดเป็น 36.66%
คะแนนเท่ากับ   3                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง       คิดเป็น 6.66%
คะแนนเท่ากับ   2                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย   คิดเป็น 0%
คะแนนเท่ากับ   1                มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด คิดเป็น 0%

ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมาใช้เพื่อการศึกษา
เคยใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาตอนที่ไปเรียนซัมเมอร์ที่ขอนแก่น ทางสถานศึกษาเขาจะใช้การสอนผ่านโทรทัศน์ ถือว่าเป็นการสอนที่เข้าใจง่าย และไม่กดดันนักเรียน
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้
          จากที่ได้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาในสถานศึกษาขนาดกลางโดยเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนทั้งหมด ได้สำรวจกับนักเรียนทั้งระดับมัธยมตอนต้นและมัธยมตอนปลายจำนวน 30 คน ผลสรุปว่านักเรียนทุกคนรู้จักและเคยใช้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา 100% โดยส่วนมากจะใช้มานานกว่า 4 ปี คิดเป็น 43.33% จากคนทั้งหมด ลักษณะการใช้งานส่วนใหญ่จะใช้งานในทางด้านการดูรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย คิดเป็น 56.66% ลำดับต่อมาคือการใช้งานโทรทัศน์ด้านรายการข่าวเพื่อการศึกษา คิดเป็น 33.33% และลำดับสุดท้ายคือการใช้งานโดยการศึกษาผ่านรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร คิดเป็น 16.66% จากลักษณะการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษามีวัตถุประสงค์โดยรวมคือเพื่อศึกษาข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่น โดยเวลาในการใช้งานในแต่ละวันจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง คิดเป็น 70% และสุดท้ายคือนักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาในระดับสูง แต่จะมีปัญหาด้านความสะดวกเพราะโรงเรียนตั้งอยู่ในชนบทห่างจากในเมืองจึงยากสำหรับการใช้งานโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาหรือบางครอบครัวอาจมีปัญหาความยากจนทำให้การสื่อสารทางด้านโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมน้อยลง

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ธรรมะกับความรัก

ผ่อนคลายความเครียด

7 ขั้นตอนผ่อนคลายความเครียด
เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มมีความเครียดและรู้สึกถูกรบกวนจนต้องทำให้ไม่มีความสุข ควรหาวิธีผ่อนคลายที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ความเครียดนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพทางกายและใจของเราซึ่ง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำ 7 ขั้นตอนผ่อนคลายความเครียดดังนี้ค่ะ
1.หยุดพักการทำงานหรือกิจกรรมที่กำลังทำอยู่นั้นชั่วคราว ลุกเดินไปดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ ยืน ยืดเส้นยืดสาย สะบัดแข้งสะบัดขา สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ก็จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
2.ทำงานอดิเรกที่สนใจ จะทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน สนุก มีความสุข ลืมความเครียดที่มีอยู่ไปขณะหนึ่ง เต้นรำ ฟังเพลง เป็นต้น

3.เล่นกีฬาหรือบริหารร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเดิน วิ่ง ขี่จักรยาน ฯลฯ โดยเลือกกีฬาที่ชอบหรือถนัด

4.พบปะสังสรรค์กับเพื่อนที่ไว้วางใจ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน เช่น การรวมกลุ่มพูดคุยเรื่องที่สนุกสนาน อยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนที่อารมณ์ดี สร้างอารมณ์ขันให้ตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินและอารมณ์ดี

5.พักผ่อนให้เพียงพอ คนที่เครียดมักจะมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับแล้วตื่นกลางดึก ฝันร้าย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การที่จะทำให้นอนหลับในตอนกลางคืนได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน และอย่ากังวลว่าจะนอนไม่หลับ เข้านอนเป็นเวลา และหากยังไม่ง่วงก็ให้หากิจกรรมบางอย่างทำไปก่อน เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ เป็นต้น

6.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวให้เหมาะสม เช่น เก็บข้าวของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำความสะอาดบ้านและที่ทำงานให้ดูดีขึ้น ซึ่งหากสิ่งแวดล้อมดูสะอาดเรียบร้อยและสวยงามน่าอยู่แล้ว ย่อมทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีและช่วยลดความเครียดลงได้

7.เปลี่ยนบรรยากาศชั่วคราว ในบางครั้งเราอาจเคร่งเครียดกับงานหรือกิจกรรมบางอย่างมากๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ซ้ำซาก จำเจเกินไปทำให้ไม่มีความสุข ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศชั่วคราว
ด้วยการชักชวนคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงออกไปเที่ยวชมธรรมชาติ หลีกหนีความจำเจไปชั่วคราว หยุดงานชั่วขณะ พักผ่อน เดินทางไปสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและ
เพลิดเพลินระยะหนึ่ง จะทำให้ความตึงเครียดลดลง และพร้อมที่จะลุยงานต่อไปได้ใหม่
เมื่อเริ่มรู้สึกตัวว่าความเครียดกำลังคุกคาม อย่านิ่งนอนใจเชียวนะคะ เพราะนอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อตัวเองแล้ว เดี๋ยวจะทำให้คนรอบข้างพลอยเครียดตามไปด้วยค่ะ




ขอขอบคุณ ที่มา : อ้างอิง : นิตยสารชีวจิต, http://www.healthsquare.org

Michel Telo - Ai Se Eu Te Pego